คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เจดีย์แห่งชัยชนะ

ชัยมงคลเจดีย์ อนุสรณ์แห่งความมีชัยและความเมตตา

เจดีย์แห่งชัยชนะ

ชัยมงคลเจดีย์ อนุสรณ์แห่งความมีชัยและความเมตตา

            หากย้อนอดีตกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา ช่วงหลังจากที่พม่าเมืองหงษาวดีได้ทำการบุกเข้าโจมตีจนกรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายเป็นครั้งแรกนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพยายามทำศึกสงครามเพื่อขจัดอิทธิพลของพม่าในกรุงศรีอยุธยาและเมืองต่างๆ รอบกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด จนกระทั่งพระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่า ทรงโปรดให้พระมหาอุปราชานำกองทัพบุกโจมตีกรุงศรีอธุยาหมายจะให้แตกพ่ายอีกคราวหนึ่ง ครั้นพระมหาอุปราชาได้ยกกองทัพมาถึงบริเวณหนองสาหร่าย(ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถผู้เป็นพระอนุชาจึงได้นำทัพไปสกัดกั้นกองทัพพม่า  ในการศึกครั้งนี้พระนเรศวรได้ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา โดยผลของการทำยุธหัตถีนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้ "พระแสงของ้าวพลพ่าย" ฟันพระอุปราชาที่ไหล่จนขาดสะพายแล่ง

            เมื่อสิ้นสุดการศึกสงคราม เมื่อองค์สมเด็จพระนเรศวรเด็จกลับมาถึงพระนครศรีอยุธยา ทรงโปรดที่จะลงโทษเหล่าทหารที่ติดตามพระองค์ไปไม่ทันการทำยุทธหัตถีจนพระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของข้าศึก ซึ่งตามกฎระเบียบแล้วต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต  ครั้นสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นทรงทราบเรื่อง จึงได้ขอให้พระนเรศวรพระราชทานอภัยยกเว้นโทษให้กับทหารเหล่านั้น โดยให้เหตุผลว่าองค์พระนเรศวรเปรียบดังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ต้องผจญเหล่าหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ เพื่อเป็นการประกาศพระเกียรติยศและบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไปทั่วทั้งแผ่นดิน องค์สมเด็จพระนเรศวรจึงได้ทรงละเว้นการลงโทษแก่ทหาร และทรงโปรดให้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น (ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า พระนเรศวรทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นใหม่หรือบูรณะปฏิเสธสังขรณ์เจดีย์องค์เดิมแล้วเสริมพระเจดีย์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น) เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่พระองค์มีเหนือพม่า และยังเปรียบได้ดั่งเป็นอนุสรณ์แห่งความเมตตาของพระองค์ ที่มีต่อแม่ทัพนายกองเหล่านั้น และพระราชทานนามของพระเจดีย์ว่า “เจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรส่วนใหญ่เรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” กระทั่งจวบจนปัจจุบันวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์แห่งนี้ จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล”

            วัดใหญ่ชัยมงคลนั้น สันนิษฐานกันถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมา นอกจากพระเจดีย์ชัยมงคลแล้ว วัดใหญ่ชัยมงคลยังสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด เช่น วิหารพระพุทธไสยาสน์ และพุทธรูปที่สำคัญอีกมากมาย โดยวัดใหญ่ชัยมงคลนั้น ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านใดที่ได้รับรู้เรื่องราวอันมีคุณค่าทางประวัติของประเทศไทยเราแบบนี้แล้ว ก็อย่าพลาดที่จะหาโอกาสไปสัมผัสอดีตราชธานีที่ยิ่งใหญ่อย่างกรุงอโยธยาศรีรามเทพนครกันสักครั้งในชีวิตนะครับ

 

สถานที่ : วัดใหญ่ชัยมงคล

อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

11,865 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา