คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดกลางน้ำกว๊านพะเยา

วัดติโลกอาราม วัดกลางน้ำกว๊านพะเยา

วัดเก่าแก่กลางกว๊านพะเยาที่ มีอายุราว ๕๐๐ กว่าปีแห่งนี้ คือวัดติโลกอาราม เป็นศาสนสถานเก่าแก่ที่มีมาก่อนกว๊านพะเยา ซึ่งจมอยู่ใต้กว๊านพะเยายาวนานกว่า ๖๘ ปี ปัจจุบันตัววัดยังจมอยู่ใต้กว๊านพะเยามีเพียงยอดเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐดินเผา เท่านั้นที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา

ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการค้นพบแผ่นหินทราย ซึ่งเป็นจารึกวัดติโลกอาราม เป็นแผ่นหินทราย จารึกด้วยอักษรฝักขาม บอกเล่าประวัติของวัดไว้อย่างชัดเจน โดยข้อความบนแผ่นหินทรายระบุว่า วัดนี้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๙ – ๒๐๒๙ ใช้เวลาในการสร้างกว่า ๑๐ ปี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าติโลกราช เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักร อักษรฝักขามที่ใช้บันทึก ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช อักษรชนิดนี้นิยมสลักลงบนแผ่นหิน โดยเฉพาะในเมืองพะเยา ถือว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีจารึกหินทรายสมัยล้านนามากที่สุด

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ มีการค้นพบพระพุทธรูปใต้กว๊านพะเยา เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างพะเยา หน้าตักกว้าง ๑๐๕ เซนติเมตร ชาวบ้านได้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาจากน้ำ จากนั้นทางจังหวัดพะเยาได้เชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีอุโมงค์คำ จน ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีการบูรณะสันธาตุบวกสี่แจ่งขึ้นมา มีการตั้งฐานบุษบกด้วยอิฐดินเผา และได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปหินทรายจากวัดศรีอุโมงค์คำมาประดิษฐานไว้บนฐานบุษบกบริเวณลานซึ่งสร้างขึ้นมาเหนือน้ำ ที่วัดติโลกอาราม

(รูปภาพจากวัดติโลกอาราม)

ประเพณีที่สำคัญของวัดคือ การเวียนเทียน ซึ่งมีความแตกต่างจากการเวียนเทียนในวัดอื่น ๆ เป็นการเวียนเทียนกลางน้ำ ผู้ที่มาเวียนเทียน จะนั่งอยู่บนเรือเพื่อทำการเวียนเทียนรอบลานอิฐดินเผาและพระธาตุที่โผล่พ้นผิวน้ำ โดยในแต่ละปีจะมีการเวียนเทียนทั้งหมด ๓ ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา ซึ่งการเวียนเทียนกลางน้ำนี้ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สนับสนุนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

คุณลุงบุญเกิด ฝึกฝน ผู้ที่ทำอาชีพพายเรือส่งนักท่องเที่ยวมายังวัดติโลกอาราม เล่าให้ฟังว่าในช่วงวันพระ ในเวลากลางคืนจะมีลูกแก้วลอยขึ้นฟ้าสว่างไสว แล้วพุงไปยังวัดต่างๆที่อยู่บริเวณรอบๆกว๊านพะเยา จากนั้นก็จะพุงกลับมาที่วัดติโลกอารามแล้วก็หายไป เป็นความมหัศจรรย์ต่อชาวบ้านที่ได้พบเห็น

หากได้แวะมาเที่ยวที่จังหวัดพะเยา ไม่ควรพลาดที่จะนั่งเรือไปไหว้พระขอพรที่วัดติโลกอาราม และหากมีโอกาสไม่ควรพลาดที่จะมาสัมผัสบรรยากาศในการเวียนเทียนกลางน้ำ ที่มีแห่งเดียวในโลกซึ่งเป็น Unseen Thailand

25,704 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา