คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จากจีนสู่แผ่นดินไทย

ศูนย์วัฒนธรรมชาวเมี่ยนปางปูเลาะ

           กว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว การเดินทางจากจีนสู่ประเทศไทยของชาวเมี่ยนหรือชาวเย้า ณ บ้านปางปูเลาะ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด ๒๖๖ คน ๖๕ ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน เดิมรวมอยู่บ้านผาแดง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลศรีถ้อย ประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่ย้ายมาจากบ้านป่าคา ตำบลวังแก้ว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง โดยย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ใน บริเวณห้วยหาญฟ้า ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ครั้งแรกที่ย้ายมามีจำนวน ๕๐ ครัวเรือน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้ย้ายเข้ามาในพื้นที่ปัจจุบันคือบ้านปางปูเลาะ โดยมีนายเลาเหลอ แซ่จ๋าว เป็นผู้นำ

            ภายในศูนย์วัฒนธรรมบ้านปางปูเลาะมีการจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยแรกเริ่มย้ายถิ่นฐานเข้ามาในแผ่นดินไทย จากสาเหตุของความยากจนและสงคราม โดยชาวเมี่ยนในประเทศจีนแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มใหญ่คือ เผ่าเปี้ยน เผ่าปูนู เผ่าฉาชันและเผ่าผิงตี้ ชาวเมี่ยนเผ่าเปี้ยนมีประชากรมากที่สุด เป็นกลุ่มที่ย้ายถิ่นฐานตลอดเวลาเป็นระยะทางไกล และกระจายกันอยู่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง

พาสปอร์ตชนเผ่า

(รูปภาพจากศูนย์วัฒนธรรมชาวเมี่ยน บ้านปางปูเลาะ)

          การเดินทางจากจีนสู่ประเทศไทย ชาวเมี่ยนเผ่าเดิมมี ๑๒ สกุล มีการบันทึกเส้นทางการอพยพในหนังสือเดินทางลงจากภูเขาของบรรพชนทั้ง ๑๒ สกุล ที่ตำบลจงหอเชียง อำเภอปกครองตนเองชนชาติเย้าเจียงหัว มณฑลฮูหนาน ถิ่นเดิมของชนชาติเมี่ยนอยู่ที่หนานไห่ ผูเฉียวโถว จากตำนานชาวเมี่ยนบางเผ่าที่อาศัยอยู่ตอนใต้ของทะเลสาปต้งถิงหู มีเรื่องเล่าว่าบรรพชนของพวกเขาย้ายมาจาก ผูเฉียวโถว แถบฝั่งเหนือของทะเลสาบต้งถิงหู จึงสันนิษฐานได้ว่า หนานไห่ น่าจะหมายถึง ทะเลสาบต้งถิง

          ดังนั้นจึงสันนิฐานว่าราวศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ชาวเมี่ยนเผ่าเปี้ยนทั้ง ๑๒ สกุล ข้ามทะเลสาบอพยพมาเข้ามาสู่ภาคเหนือของเวียดนาม ผ่านประเทศลาวและอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงรายและน่าน ต่อมามีการแยกย้ายกันตั้งถิ่นฐานไปยังจังหวัดพะเยาโดยมีอยู่ ๒ กลุ่ม คือกลุ่มที่อพยพมาจากเชียงรายจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.แม่ใจ คือบ้านปางปูเลาะและบ้านผาแดง ส่วนที่อพยพโดยตรงมาจาก สปป.ลาว จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.ปง และคำเภอเชียงคำ

การแต่งกายประจำเผ่า

(รูปภาพจากศูนย์วัฒนธรรมชาวเมี่ยน บ้านปางปูเลาะ)

          ชาวเมี่ยน ในเอกสารบันทึกของจีน สมัยราชวงศ์ถัง ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ ตระกูลจีนธิเบต โดยปรากฏในชื่อ “ม่อเย้า” มีความหมายว่า ไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้ใด โดยเมื่อประมาณ ๒๐๐๐ กว่าปีมาแล้วบรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาบต้งถิง แถบแม่น้ำแยงซี ไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อปกป้องเสรีภาพ จึงถูกขนานนามว่า “ม่อเย้า” ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า “เย้า” เท่านั้น ต่อมาคำว่า “เย้า” ปรากฎในเอกสารจีน เมื่อประมาณศตวรรษที่ ๕ ก่อนคริสตศักราช ซึ่งมีความหมายว่า ป่าเถื่อน หรือคนป่า ในประเทศจีนชนชาติเย้า มีคำเรียกขานชื่อของตนเองแตกต่างกันถึง ๒๘ ชื่อ แต่คนเย้าในประเทศไทย เรียกตัวเองว่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ซึ่งมีความหมายว่า “มนุษย์” ภาษาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นภาษาถิ่นมี ๓ ภาษา คือภาษาเมี่ยน ภาษาปูนูและภาษาลักจา

             แต่เดิมบ้านปางปูเลาะมีชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านปู่ล่อ” โดยตั้งตามชื่อของพ่อค้าชาวจีน คือ นายปู่ล่อ ต่อมาชื่อหมู่บ้านได้เพี้ยนไปโดยเรียกใหม่ว่า “บ้านปางปูเลาะ” โดยได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน                    ในปีพ.ศ. ๒๕๑๓

ผ้าปักของชนเผ่า

ข้อมูลจาก : ศูนย์วัฒนธรรมชาวเมี่ยน บ้านปางปูเลาะ

คุณสมสิทธิ์ แซ่จ๋าว ผู้ใหญ่บ้านปางปูเลาะ และคุณลุงประพันธ์ ปรานวิโรจน์

3,799 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา