คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สงกรานต์พระประแดง

พระประแดง เดิมชื่อ เมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นเมืองหน้าด่านของปากแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างโดยรัชกาลที่ 2 ชาวพื้นเมืองเดิมของพระประแดง เป็นชาวรามัญหรือมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินไทยเป็นเวลากว่าร้อยปีมาแล้ว  แม้ว่าปัจจุบันนี้ชาวมอญส่วนใหญ่จะผสมผสานกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทย แต่ประเพณีและวัฒนธรรมมอญยังฝังรากแน่นแฟ้นในพระประแดงและรักษาประเพณีเดิมไว้เป็นอย่างดี

 

จังหวัดสมุทรปราการและชาวอำเภอพระประแดง จึงได้ร่วมกันจัดงานสงกรานต์พระประแดงขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ของไทยและเพื่ออนุรักษ์ประเพณีของชาวรามัญเอาไว้ โดยก่อนวันสงกรานต์จะมาถึง ชาวบ้านจะเตรียมบ้านเรือนให้สะอาด นำเงินที่เก็บหอมรอมริบไว้มาใช้จ่ายเพื่อการรื่นเริงในวันสงกรานต์ มีการกวนกาละแม ข้าวเหนียวแดง เพื่อทำบุญตักบาตรหรือแจกจ่ายญาติพี่น้อง ผู้ที่คุ้นเคยและเคารพนับถือ

 

เมื่อถึงวันสงกรานต์จะมีพิธีส่ง “ข้าวสงกรานต์” หรือ ที่เรียกว่า "ข้าวแช่” ซึ่งจะนำไปถวายพระที่วัดตอนเช้าตรู่ โดยผู้ส่งข้าวสงกรานต์นิยมใช้สาวๆ

 

การสรงน้ำพระสงฆ์ของชาวพระประแดง จะสร้างซุ้มกั้นเป็นห้องน้ำด้วยทางมะพร้าว ปูด้วยแผ่นกระดานสำหรับให้พระเข้าไปสรงน้ำ โดยจะนิมนต์พระสงฆ์ที่มีอาวุโสสูงลงสรงก่อน ชาวบ้านจะใช้ขันตักน้ำในโอ่งเทลงไปในราง  น้ำจะไหลตามรางเข้าไปในซุ้มที่พระสรง เมื่อพระสงฆ์องค์หนึ่งสรงน้ำเสร็จก็นิมนต์พระองค์ต่อๆ ไป ในการสรงน้ำ การสรงน้ำพระถือเป็นการขอพรทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

 

หลังจากสรงน้ำพระเสร็จแล้ว เป็นการรดน้ำของหนุ่มๆ สาวๆ โดยมี 3 ครั้งด้วยกัน คือ

  • ครั้งที่หนึ่ง เมื่อสาวกลับมาจากส่งข้าวสงกรานต์ตามวัดต่างๆ
  • ครั้งที่สอง เมื่อสาวกลับจากสรงน้ำพระสงฆ์
  • ครั้งที่สาม ถือเป็นการรดน้ำครั้งพิเศษ คือ ช่วงบ่ายที่มีการสรงน้ำพระพุทธรูปในมณฑปวัดโปรดเกตุเชษฐาราม

 

ในตอนกลางคืนยังมีการเล่น “สะบ้า” ซึ่งเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ของชาวรามัญ การเล่นสะบ้ามี 2 ประเภท คือ สะบ้าประเภทเล่นกลางวัน เรียกว่า ทอยสะบ้าหัวช้าง และ การเล่นสะบ้าบ่อนในตอนกลางคืน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานสงกรานต์ของชาวพระประแดง คือ “การแห่นกแห่ปลา” ตามตำนานเพื่อเป็นการช่วยชีวิตปลาที่ตกคลักอยู่ตามหนองบึงในฤดูแล้งไปปล่อยในที่มีน้ำเพื่อให้พ้นความตาย และเป็นการรักษาพันธุ์ปลาในทางอ้อม โดยจะมีสาวรามัญร่วมขบวนแห่นำนกและปลาไปปล่อยตามที่ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีการละเล่นสลับไปในขบวนด้วย ได้แก่ แตรวง ทะแยมอญ เถิดเทิง เป็นที่สนุกสนานรื่นเริง

 

ที่มาข้อมูล: https://www.m-culture.go.th

ที่มารูปภาพ: https://www.facebook.com/jume60/เทศบาลเมืองพระประแดง phrapradaeng municipality

13,754 views

2

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสมุทรปราการ