คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แห่เทียนพรรษา

การเทียนพรรษา เป็นกิจกรรรมวันเข้าพรรษาของชาวพุทธที่ได้กระทำต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา ในสมัยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลนั้น การทำเทียนพรรษาและการแห่เทียนของชาวเมืองอุบลยังไม่มี ซึ่งเมื่อถึงวันเทศกาลเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะฟั่นเทียนพันรอบศรีษะนำไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา พร้อมทั้งน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝน

 

ต่อมาในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการ ได้มีการจัดขบวนแห่บั้งไฟขึ้นที่วัดกลาง โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมขบวนแห่เป็นจำนวนมาก หากในครั้งนั้นได้มีการทำร้ายร่างกายกันจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย เมื่อเสด็จในกรมฯ ทรงทราบแลเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี จึงขอให้ยกเลิกการแห่บั้งไฟและให้เปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

 

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้ใหญ่โตดังเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ หากระดาษจังโก(กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลา ติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปี๊บ น้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบหรือทำสูงขึ้นเป็นชั้น ๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วก็แห่ไปถวายวัด โดยใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง รวมถึงยังไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะเล่าลือกันว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวย ต่อมาผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาโดยแห่รอบเมือง ก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด

 

การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัดจะจัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงาม และนำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อเข้าร่วมประกวด จากงานของชาวบ้านก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชนทายกทายิกาคุ้มวัดต่าง ๆ และในปี พ.ศ.2519 จังหวัดอุบลราชธานี ได้เชิญองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์จัดงาน และตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เป็นต้น จังหวัดอุบลราชธานีก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ "งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี" เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย(Amazing Thailand 2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมทเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ ถือเป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของคนในชุมชนท้องถิ่นที่เริ่มต้นจากกิจกรรมชาวบ้าน หลอมหล่อเทียนเล่มใหญ่ จนเป็นงานระดับประเทศในปัจจุบัน

 

ข้อมูลจาก  จังหวัดอุบลราชธานี   www.ubonratchathani.go.th

55,526 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดอุบลราชธานี