คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตำนานประตูเมืองโคราช

ประตูพลแสน

         เมืองโคราช เป็นประตูสู่ภาคอีสานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากโคราชเป็นเมืองหน้าด่านที่ป้องกันเขมรรุกรานสู่อยุธยา จึงได้สร้างกำแพงเมืองและประตูเมืองขึ้น ประตูเมืองถูกสร้างขึ้นจากศิลาแลงและถูกแบ่งออกเป็น 4 ด้าน 4 ทิศด้วยกัน คือ

         ทิศเหนือคือ ประตูพลแสน เป็นประตูที่อยู่ติดกับแม่น้ำลำตะคอง ที่เป็นแหล่งน้ำหลักของชาวโคราชตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านมักเรียกติดปากว่า ประตูน้ำ การตั้งชื่อประตูนี้ สันนิษฐานว่า ต้องใช้ข้าศึกจำนวนแสนคน จึงจะบุกเมืองทิศนี้ได้

         ทิศใต้คือ ประตูไชยณรงค์ เชื่อกันว่าประตูทิศด้านนี้เป็นประตูที่นำศพออกจากตัวเมือง เพราะว่าความเชื่อโบราณ คือ ห้ามเผาศพในเมือง ประตูนี้จึงถูกกำหนดให้นำศพออก ชาวบ้านจึงเรียกว่าประตูผี มาจนถึงปัจจุบัน

         ทิศตะวันออกคือ ประตูพลล้าน เป็นประตูที่อยู่ติดกับชุมชนทุ่งสว่าง ชาวบ้านทั่วไปจึงชอบเรียกติดปากว่า ประตูทุ่งสว่าง ส่วนการตั้งชื่อประตูนี้เชื่อกันว่า เป็นการข่มขวัญข้าศึก

         ทิศตะวันตกคือ ประตูชุมพล เป็นประตูที่มีชื่อเสียงมาก อยู่ติดกับอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ชื่อของประตูมาจากการชุมนุมพลไปออกศึก ปู่ย่าตายายเล่ากันว่าหากใครลอดซุ้มประตูนี้ ก็จะแคล้วคลาดกลับมาโคราชอีกครั้ง ความเชื่อนี้จึงส่งผลต่อปัจจุบันเชื่อกันว่าหากใครมาลอดซุ้มประตูชุมพล ก็จะได้มาอยู่ที่โคราช

         ปัจจุบัน ประตูชุมพลเป็นประตูเดิมที่ได้รับการบูรณะเพียงประตูเดียว ส่วนประตูที่เหลือ ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ตามสภาพแวดล้อม และการจราจร แต่ยังคงกลิ่นอายของความดั้งเดิม ไว้ให้ลูกหลานดูต่อไป

........................................

Credit by :
นางสาวปภัสสร ยังสูงเนิน

22,079 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา