คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ข่าวสาร

  1. หน้าแรก
  2.    >   ข่าวสารทั้งหมด
  3.    >   “นิทรรศการ 3/๓๓”

“นิทรรศการ 3/๓๓”

13 กรกฎาคม 2559

555 ผู้เข้าชม

1

แบ่งปัน

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้จัดงาน “นิทรรศการเทิดพระเกียรติ ๘๘ พรรษา 3/๓๓” ขึ้น ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ในระหว่างวันที่ ๒๔ มิถุนายน – ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ซึ่งได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ โดยมี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายชาย นครชัย ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย,  รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักแสดงสาวมากความสามารถ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา ในฐานะศิษย์เก่า เข้าร่วมงาน

            โดยการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะหาดูได้ยากจาก 3 สุดยอดผลงานของศิลปินระดับโลก ซึ่งปัจจุบันผลงานดังกล่าวทั้ง 3 ชิ้น อยู่ในความครอบครองของนักสะสมงานศิลปะชาวไทย คุณชินเวศ   สารสาส และผลงานศิลปะจาก ๓๓ ศิลปินระดับประเทศ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และเทคนิคต่างๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทั้งในแบบร่วมสมัยและสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสครบรอบ ๓๓ ปี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปกับศิลปินชื่อดัง เพื่อให้เกิดการรับรู้และหันมาสนใจงานศิลปะมากขึ้นอีกด้วย

ภายในงานจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือบริเวณชั้น 1 จะเป็นการนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ จาก ๓๓ ศิลปินระดับประเทศ ทั้งศิลปินแห่งชาติและศิลปินร่วมสมัย อาทิ อ.เฟื้อ หริพิทักษ์, ศ.เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ, ศ.เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ, อ.ถวัลย์ ดัชนี, ดร.กมล ทัศนาญชลี เป็นต้น บริเวณชั้น 2 เป็นการนำเสนอผลงานศิลปะจากเหล่าคณาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ถือเป็นไฮไลท์สำหรับการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ คือการนำ 3 สุดยอดผลงานของศิลปินระดับโลก ซึ่งหาชมได้ยาก อย่าง Pablo Picasso (ปาโบล ปีกัสโซ), ศิลปินชาวสเปน ผู้บุกเบิกศิลปะแนวบาศกนิยม หรือ Cubism อันเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับปริมาตรของวัตถุ การสร้างองค์ประกอบของภาพในแนวใหม่ ไม่เน้นกฎเกณฑ์ แหวกขนบเดิมของศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ที่เป็นการเลียนแบบแสงและสีจากธรรมชาติ ถ่ายทอดวัตถุในหลายมุม จนปรากฏออกมาในรูปทรงเรขาคณิตเป็นสำคัญ, Pierre Auguste Renoir (ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์) ศิลปินชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในแนวการวาดภาพแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ อันหมายถึงการวาดภาพโดยใช้ประสาทสัมผัสแบบฉับพลัน จับแสงสีในธรรมชาติที่ตามองเห็นแล้ววาดลงบนผืนผ้าใบ เขามีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนบุคคลและบรรยากาศของยุคสมัย และ David Hockney (เดวิด  ฮอกนีย์) ศิลปินชาวอังกฤษที่นิยมสร้างผลงานแปลกๆ เช่นเทคนิค Photo collage หรือการถ่ายภาพด้วยกล้องโพลารอยด์ หรือถ่ายเอกสารกระดาษแล้วนำมาต่อกันให้เกิดรูปทรงใหม่ ปัจจุบันเขานิยมวาดรูปโดยใช้เครื่องมือทันสมัยอย่าง iPhone  และ iPad โดยใช้โปรแกรมวาดภาพดิจิตอล จนเคยถูกนำไปแสดงงานในพิพิธภัณฑ์มาแล้ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งศิลปินที่ได้รับอิทธิพลจากงาน Cubism ของ Picasso มาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมกันอีกด้วย

            โดยผู้ที่มีใจรักในงานศิลปะและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมฟรีได้ ระหว่างวันที่ ๒๔ มิถุนายน – ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (หยุดเฉพาะวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

วันที่สร้าง : 21 กรกฎาคม 2559

1

แบ่งปัน