คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ชุมชนชาวแพสะแกกรัง

ฤๅจะเลือนหายไปตามกาลเวลา - ชุมชนชาวแพแห่งสุดท้ายของประเทศไทย

ชุมชนชาวแพแห่งสุดท้ายของประเทศไทย.........ชาวแพสะแกกรัง - อุทัยธานี

“เรือนแพ.....สุขจริงอิงกระแสธารา.....”

เพลงเรือนแพของ ชรินทร์ นันทนาคร ดังออกมาจากเครื่องเล่นซีดีในรถ นอกจากเพื่อสร้างบรรยากาศในการเดินทางแล้วยังเป็นการทบทวนสิ่งที่ผมสงสัย จนกลายเป็นที่มาของการเดินทางบนถนนสายเอเชียครั้งนี้ เพลงเรีอนแพบอกเล่าความสวยงามของการอาศัยอยู่บนแพ แต่ในความเป็นจริงแล้วจำนวนประชากรชาวแพกลับลดลงไปตามกาลเวลา เหตุใดเล่า ความสวยงามของเรือนแพจึงไม่สามารถหยุดยั้งการลดลงนี้ได้ การเดินทางของผมในครั้งนี้จึงเพื่อไขข้อสงสัยนี้กับชุมชนชาวแพแห่งสุดท้าย ณ แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัด อุทัยธานี

หลังจากใช้เวลาบนถนนสายเอเชียประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆ ระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตรจากกรุงเทพมุ่งหน้ามาทางตอนเหนือ ก่อนถึงจังหวัดนครสวรรค์ จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสาย 333 เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมืองอุทัยธานี โดยสิ่งแรกที่ผู้มาเยือนจะได้เห็นคือ แม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำแห่งชีวิตที่หล่อเลี้ยงชาวอุทัยธานีมาตั้งแต่อดีต และยังเป็นแหล่งกำเนิดชุมชนชาวแพแห่งสุดท้ายของประเทศ “ชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง”

ผมเดินทางต่อมาจากตัวเมืองอุทัยธานีไม่ไกลมากนักก็มาถึงริมน้ำสะแกกรัง และได้พบบ้านเรีอนแพเรียงรายอยู่ในแม่น้ำแห่งนี้ ผมมีโอกาสได้พบกับลุงบุญสม พูลสวัสดิ์ หรือลุงบัติ ชาวชุมชมแพสะแกกรังที่อาศัยที่นี่มาไม่ต่ำกว่า 20ปี ลุงบัติเล่าเรื่องของแพสะแกกรังให้ผมฟัง ขณะที่พายเรือไปตามแม่น้ำ ผ่านเรือนแพที่ทอดยาวต่อกันไป ในช่วงกลางวันแบบนี้ เรือนแพหลายหลังไม่มีคนอยู่ เพราะชาวแพบางส่วนนอกจากจะเลี้ยงปลาเป็นอาชีพหลักแล้ว ยังมีอาชีพอยู่บนบกเหมือนชาวเมืองทั่วไป จากการสังเกตลักษณะของบ้านเรีอนแพแล้ว พบว่าเกือบทุกหลังมีลักษณะเป็นแพไม้ หลังคาไม่สูงมากนัก เพื่อป้องกันการต้านลม มีเลขที่บ้าน มีไฟฟ้า เหมือนบ้านบนบก และทุกแพไม่มีรั้วรอบขอบชิด ถึงแม้จะมีการแสดงอาณาเขตจากไม้ไผ่ที่ลอยอยู่ในน้ำ ดังนั้นเกือบทุกหลังจะเลี้ยงหมาเอาไว้ เพื่อเป็นสัญญาณเตือนภัยเมื่อมีคนเข้ามาใกล้แพนั่นเอง

เมื่อการใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในแม่น้ำสะแกกรังจึงทำให้ เกือบทุกกิจกรรมของชาวแพต้องพึ่งพาแม่น้ำสายนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ น้ำในแม่น้ำสะแกกรังถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภค เช่น น้ำอาบ ซักล้างเสื้อผ้าและภาชนะ หรือการบริโภคในการหุงหาอาหาร “ใช้น้ำในแม่น้ำนี่ล่ะ สะอาดดี ไม่เสียค่าน้ำด้วย” คุณป้าจี้ด วัย60 ปี ผู้ที่อาศัยอยู่บนแพมาตลอดชีวิตเล่าให้ฟังอย่างติดตลกขณะตักน้ำในแม่น้ำเพื่อมาหุงข้าว ดังนั้นแล้ว ชาวแพเองจึงรักและหวงแหนแม่น้ำสะแกกรังสายนี้เป็นอย่างมาก

หลังจากพายเรือตามแม่น้ำมาได้สักพัก ลุงบัติพาผมมาพบ ลุงฉลอง สุดเขต หรือ ลุงหลอง หัวหน้าชุมชนชาวแพ ลุงฉลองเล่าให้ฟังว่า จำนวนแพและประชากรชาวแพลดลงเรื่อย ๆล้มหายตายจากกันไปบ้าง ย้ายขึ้นไปอยู่บนบกกันบ้าง ปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ที่ไม่อนุญาตให้มีการเพิ่มจำนวนแพอีก ถึงแม้ว่าจะมีการสนับสนุนให้แพเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ก็ไม่มีเงินสนับสนุนที่มากพอ รวมถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต ทั้งการเดินทางของคนสูงอายุในการไปหาหมอ ความสะดวกสบายตามยุคสมัย ล้วนเป็นเหตุให้เกิดการย้ายที่อยู่เช่นกัน

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากๆคือ ค่าบำรุงรักษาแพนั้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับบ้านบนบก แพหลังหนึ่งต้องซ่อมกันทุกๆ 3-5 ปีแล้วแต่การดูแลรักษา ค่าใช้จ่ายที่สำคัญมาจากการเปลี่ยนไม้ที่เรียกว่า ลูกบวบและไม้ที่เป็นฐานของแพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า3หมื่นและบางครั้งอาจถึง5หมื่นเลยทีเดียว นอกจากนี้แล้ว ไม้ไผ่และผู้เชียวชาญที่สามารถซ่อมแพได้ก็หายากขึ้นทุกวัน

จากการพูดคุยครั้งนี้ทำให้ผมรู้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการเลือกจะอยู่หรือไปจากชุมชนแพแห่งนี้ แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ถึงแม้จะมีอุปสรรคมากมาย แต่ชาวแพหลายคนกลับยืนหยัดที่จะอยู่ต่อไป แม้จะมีบ้านบนบก มีที่ดินและกำลังทรัพย์มากพอที่จะสร้างบ้านบนบกได้ก็ตาม

ผมไขข้อสงสัยแล้วว่านอกจากบ้านเรือแพจะมีความสุขอิงกระแสธาราแล้ว ความทุกข์เองก็อิงกระแสธาราด้วยเช่นกัน แต่คำตอบสำหรับ อนาคตของชุมชนชาวแพแห่งสุดท้ายของประเทศ ผมไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเป็นอย่างไร จะยังคงอยู่คู่เมืองไทย หรือ เลือนหายไปตามกาลเวลา แม้แต่ชาวแพแห่งแม่น้ำสะแกกรังเอง ก็คงไม่สามารถให้ตอบคำถามนี้ได้เช่นกัน

6,008 views

0

share

Museum in Uthai Thani

28 June 2019
5,453
493
10 June 2019
3,329
540
17 January 2019
4,226
235
27 July 2018
3,284
476
30 July 2018
7,111
463
28 June 2019
4,354
238